- ก่อนจ้างต่างด้าว นายจ้างต้องตรวจสอบเอกสาร 4 อย่างนี้
- การจ้างแรงงานต่างด้าว ค่าแรง และ สวัสดิการต้อง ไม่น้องกว่ากฎหมายกำหนด อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ
- นายจ้างไม่สามารถยึดเอกสารลูกจ้าง มีความผิดดังต่อไปนี้
- จ้างแรงงานต่างด้าว ไม่มีใบอนุญาตได้รับโทษอะไรบ้าง
- แรงงานต่างด้าวต้องรายงานตัวทุก 90 วัน
- ต่อใบอนุญาต ทำงานต้อง ตรวจสุขภาพ 6โรค ดังต่อไปนี้
- ห้ามนายจ้าง/สถานประกอบการเคลื่อนย้ายแรงงานต่างด้าวในทุกกรณี
- จ้างลูกจ้าง มติ 29 ธค 2563 ต้องมีเอกสารอะไรบ้าง
- นายจ้างที่ยื่น มติ 28 กย 2564 แล้ว ต้องทำ4สิ่งนี้หลังขึ้นทะเบียน
- นายจ้างที่มีแรงงานต่างด้าวที่อยู่ประเทศต้นทาง สามารถนำเข้าแรงงานต่างด้าว MOU แล้ว เริ่ม วันที่ 1 ธค 2564 โดยต่างด้าวต้องทำ 4 ข้อนี้
ก่อนจ้างแรงงานต่างด้าวนายจ้างควรรู้10สิ่งนี้เพื่อที่จะ จ้างแรงงานต่างด้าวให้ถูกกฎหมาย และไม่ให้เสียผลประโยชน์ของนายจ้างและลูกจ้าง
ก่อนจ้างต่างด้าว นายจ้างต้องตรวจสอบเอกสาร 4 อย่างนี้
- พาสปอร์ต ที่ยังไม่หมดอายุ
- วีซ่าต้องไม่ขาด
- ใบอุณญาติทำงาน ต้องมีอายุอยู่
- ใบแจ้งออกที่ยังมีอายุอยู่
- หมายเหตุการแจ้งออก (ลดพนักงาน)
- ตรวจสอบว่านายจ้างอยู่จังหวัดเดียวกันกับนายจ้างใหม่หรือไม่ (ยังไม่สามารถแจ้งเข้าต่างด้าว ข้ามจังหวัด)
การจ้างแรงงานต่างด้าว ค่าแรง และ สวัสดิการต้อง ไม่น้องกว่ากฎหมายกำหนด อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ
นายจ้างไม่สามารถยึดเอกสารลูกจ้าง มีความผิดดังต่อไปนี้
- มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน
- ปรับ 10,000 – 100,000
- หรือ ทั้งจำทั้งปรับ
- กรณีแรงงานต่างด้าว ยินยอม สามารถทำได้ ไม่ผิดกฎหมาย แต่ถ้าพนักงานต้องเอกสารเมื่อไร นายจ้างต้องคือเอกสารสำคัญ คือให้กับลูกจ้างทันที ความผิดตามมาตรา 10 ของพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานพ.ศ.2541
ข่าวที่เกี่ยวข้อง กระทรวงแรงงานห้ามนายจ้างยึดพาสปอร์ต ลูกจ้างต่างด้าว
จ้างแรงงานต่างด้าว ไม่มีใบอนุญาตได้รับโทษอะไรบ้าง
นายจ้าง มีโทษปรับ 10,000 – 100,000 บาท / ต่างด้าว 1 คน หากทำผิดซ้ำมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับ 50,000 – 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และห้ามจ้างแรงงานต่างด้าวทำงานเป็นเวลา 3 ปี
ลูกจ้าง โทษปรับ 5,000 – 50,000 บาท / ต่างด้าว 1 คน และจะถูกส่งออกนอกราชอาณาจักร นอกจากนี้แรงงานต่างด้าวห้ามขออนุญาตทำงานภายใน 2 ปีนับตั้งแต่วันที่ได้รับโทษ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง บังคับใช้แล้ว ‘พระราชกำหนดแรงงานต่างด้าว’ โทษหนักเอาผิด’นายจ้าง’ ปรับสูงสุด 8 แสน
แรงงานต่างด้าวต้องรายงานตัวทุก 90 วัน
แรงงานต้องแจ้งที่พักอาศัยต่อพนักงานตรวจคนเข้าเมืองโดยสามารถแจ้งที่พักอาศัยได้ก่อน 15 วัน หรือหลัง 7 วันนับจากวันครบกำหนด หากเกินกำหนดการแจ้งที่พักอาศัยจะถูกดำเนินการเปรียบเทียบปรับเป็นเงิน 2,000 บาท
ต่อใบอนุญาต ทำงานต้อง ตรวจสุขภาพ 6โรค ดังต่อไปนี้
- โรคเรื้อน
- วัณโรคในระยะอันตราย
- เท้าช้าง
- พิษสุราเรื้อรัง
- ซิฟิลิสในระยะที่ 3
- ติดยาเสพติด
(หมายเหตุ ต้องซื้อประกันโควิด 4เดือน)
ห้ามนายจ้าง/สถานประกอบการเคลื่อนย้ายแรงงานต่างด้าวในทุกกรณี
ข่าวที่เกี่ยวข้อง ห้ามเคลื่อนย้ายแรงงานต่างด้าวเข้า-ออกพื้นที่เสี่ยงโควิด-19 “ทุกกรณี”
จ้างลูกจ้าง มติ 29 ธค 2563 ต้องมีเอกสารอะไรบ้าง
- เอกสาร ตรวจอัตลักษณ์บุคคล
- เอกสาร บต48
- เอกสาร บต39
- บัตรชมพู
นายจ้างที่ยื่น มติ 28 กย 2564 แล้ว ต้องทำ4สิ่งนี้หลังขึ้นทะเบียน
- ตรวจสุขภาพต่างด้าวก่อนวันที่ 31-3-2565
- ตรวจอัตลักษณ์บุคคล ก่อนวันที่ 31-3-2565
- จัดทำพาสปอร์ต และ ตีวีซ่า ก่อน วันที่ 1-8-2565
- ถ่ายบัตรชมพู ก่อนวันที่ 13-2-66
นายจ้างที่มีแรงงานต่างด้าวที่อยู่ประเทศต้นทาง สามารถนำเข้าแรงงานต่างด้าว MOU แล้ว เริ่ม วันที่ 1 ธค 2564 โดยต่างด้าวต้องทำ 4 ข้อนี้
- กักตัว 7วัน (ต้องฉีดวัดซีน แล้ว 2เข็ม)
- ตรวจโควิด-19 (2ครั้ง)
- ซื้อประกันสุขภาพโควิด 4 เดือน
- หลังเข้ามาทำงานในประเทศไทย แล้วต้องยื่นขึ้นทะเบียนประกันสังคม