

ขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าว 2566
มติ 5 กรกฎาคม 2566
ให้ แรงงานต่างด้าวไม่มีเอกสาร, วีซ่าขาด, ใบแจ้งออกเกิน, ไม่มีใบอนุญาตทํางาน, วีซ่าท่องเทียว สามารถ ขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าว2566 รอบสุดท้ายของปี ได้แล้ววันนี้ 🇰🇭🇱🇦🇲🇲 ทํางานถูกกฎหมาย สบายใจทั้งนายจ้างและลูกจ้าง ทํางานได้ถึง 13 กุมภาพันธ์ 2568 ยื่นก่อนวันที่ 31 กรกฎาคม 2566
ขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าว มติ 5กค 2566

เอกสารนายจ้าง - นิติบุคคล
-หนังสือรับรองบริษัท อายุไม่เกิน 3 เดือน เซ็นชื่อ+ประทับตรา จำนวน 2 ชุด
-สำเนาบัตรประชาชนกรรมการ จำนวน 2 ชุด
-สำเนาทะเบียนบ้านกรรมการ จำนวน 2 ชุด
*กรณีนายจ้างไม่ใช่เจ้าของสถานที่ เตรียมเอกสารดังนี้
1.สำเนาบัตรประชาชน+ทะเบียนบ้านของเจ้าของสถานที่ด้วย จำนวน 2 ซุด
2.สำเนาสัญญาเช่าหรือหนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่ จำนวน 2 ชุด
เอกสารนายจ้าง - บุคคลธรรมดา
เอกสารนายจ้าง – บุคคลธรรมดา
– สำเนาบัตรประชาชน จำนวน 2 ชุด
– สำเนาทะเบียนบ้าน จำนวน 2ชุด
*กรณีนายจ้างไม่ไช่เจ้าบ้าน เตรียมเอกสารดังนี้
1.สำเนาบัตรประชาชน+ทะเบียนบ้านของเจ้าบ้านด้วย จำนวน 2 ชุด
2.สำเนาสัญญาเช่าหรือหนังสือยินยอมให้ใช้บ้านเลขที่…
เอกสารในการยื่นขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าว

เอกสาร-ลูกจ้าง ต่างด้าว
- พาสปอร์ตเล่มเก่า (ถ้ามี)
- บัตรประชาชนของพนักงานต่างด้าว
- ชื่อภาษาไทย และ อังกฤษ
- วัน/เดือน/ปี เกิด
- อายุ
- สัญชาติ
- รูปถ่าย ขนาด1นิ้ว พื้นหลังขาว ใส่ชุดสุภาพ


จัดทํา Namelist
สิ่งที่จะได้รับ-จากการขึ้นทะเบียน
สรุปมติ 5 กค ขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าว 2565 คน ใหม่
1. นายจ้าง หรือ บริษัท นจ จัดทําNamelist (บัญชีรายชื่อ)
2. ยื่นคําขอแทนคนต่างด้าว
ขึ้นทะเบียนแรงงาน “มติ 5 กรกฎาคม 2566” 💎เหมาะสำหรับกลุ่มแรงงานที่
ประกาศกระทรวงมหาดไทย



ติดต่อ คุณทวี
คนลาวได้ใบอนุญาตทํางานถึง 13-2-66 สามารถต่อใบอุนญาตทํางานได้ถึง 13-2-68
เนื้อหา มติครม ขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าว 2566

ตามที่รัฐบาลได้ผ่อนคลายมาตรการในการควบคุมและจำกัดการเดินทางเข้าออก
ประเทศ ให้คนต่างด้าวสามารถเดินทางเข้ามาทำงานในประเทศตามบันทึกความตกลงหรือบันทึก
ความเข้าใจที่ รัฐบาลไทยทำไว้กับรัฐบาลต่างประเทศ แต่ด้วยมีข้อจำกัดหรือเกิดอุปสรรค
ในการเดินทางหลายประการ ทำให้คนต่างด้าวซึ่งจะเข้ามาทำงานมีจำนวนไม่สอดคล้องกับ
ความต้องการแรงงานภายในประเทศ ดังนั้น เพื่อเป็นการฟื้นฟูเศรษฐกิจและการแก้ไขปัญหา
การขาดแคลนแรงงาน จึงจำเป็นต้องกำหนดให้คนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมา
และเวียดนาม ซึ่งอยู่และทำงานในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตหรือระยะเวลาที่ได้รับอนุญาต
สิ้นสุดลง และประสงค์จะทำงานอย่างถูกต้อง สามารถอยู่ในราชอาณาจักรได้เป็นกรณีพิเศษ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง
พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๘๗/๒๕๕๗
เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมผู้รักษาการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานตำรวจ
ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ และมาตรา ๑๗ แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง
พ.ศ. 2522 นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรี
เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2566 จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“คนต่างด้าว” หมายความว่า
(๑) บุคคลสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ซึ่งมีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีที่เข้ามา
ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตหรือระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรสิ้นสุดลง
หรือการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษสิ้นสุดลงและทำงานอยู่กับนายจ้าง
(๒ บุคคลสัญชาติเวียดนามซึ่งมีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีที่ถือหนังสือเดินทาง
หรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางที่มีรอยตราประทับตรวจหนังสือเดินทางขาเข้าซี่งระยะเวลาที่ได้รับ
อนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรสิ้นสุดลงและทำงานอยู่กับนายจ้างก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ
(๓) บุคคลสัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม ซึ่งได้รับอนุญาตให้อยู่
ในราชอาณาจักรและได้รับอนุญาตให้ทำงานตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองและกฎหมายว่าด้วย
การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว แต่การอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรและการอนุญาต
ให้ทำงานสิ้นสุดลงตามมาตรา 50 มาตรา 53 และมาตรา 54 แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการ
การทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ และทำงานอยู่กับนายจ้างก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ
“ประกาศกระทรวงแรงงาน” หมายความว่า ประกาศกระทรวงแรงงาน
เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติ
กัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๖๖
ข้อ ๒ นอกจากที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ การดำเนินการอื่นใดที่เกี่ยวกับคนต่างด้าว
และการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรของคนต่างด้าวสิ้นสุดลง ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วย
คนเข้าเมือง
ข้อ ๓ ให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษนับแต่วันที่ประกาศนี้
ใช้บังคับจนถึงวันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๖ เพื่อดำเนินการตามข้อ ๔ แห่งประกาศกระทรวงแรงงาน
ข้อ ㆍ ให้ผู้ติดตามคนต่างด้าวซึ่งมีอายุไม่เกินสิบแปดปีอยู่ในราชอาณาจักรได้
ตามระยะเวลาที่บิดาหรือมารดาของผู้นั้นได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร โดยให้ผู้ติดตาม
คนต่างด้าวนั้นดำเนินการหรือบิดาหรือมารดาของผู้นั้นดำเนินการ ดังต่อไปนี้
(๑) แจ้งชื่อ ที่อยู่ อายุ สัญชาติ เพศ หมายเลขโทรศัพท์ และข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้อง
ต่อกระทรวงแรงงาน ณ สถานที่ที่กำหนดไว้ในข้อ ๓ แห่งประกาศกระทรวงแรงงาน
(๒) ยื่นคำร้องขอจัดทำทะเบียนประวัติตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร
ที่สำนักงานเขตกรุงเทพมหานคร ศูนย์บริหารการทะเบียนภาค สาขาจังหวัด หรือสถานที่ อื่น
ที่กรมการปกครองกำหนด
ข้อ ๕ มิให้นำมาตรา ๑๒ (๑๐) และมาตรา ๕๔ และคำสั่งรัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงมหาดไทย ที่ ๑/๒๕๕๘ เรื่อง การไม่นุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกเข้ามาใน
ราชอาณาจักร ลงวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ มาใช้บังคับแก่คนต่างด้าวที่ประกาศนี้รับรอง
ให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ เป็นต้นไป
ประกาศ ณวันที่ ( กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๖)